แนวทางการใช้อุปกรณ์ส่วนตัวให้ปลอดภัย

​​ ​​​
ตั้งรหัสให้ปลอดภัย

ตั้งรหัสผ่านอย่างน้อย 8 ตัวและซับซ้อน ประกอบด้วย ตัวอักษรพิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่ ตัวเลข อักขระพิเศษ รวมกัน โดยไม่อิงกับวัน เดือน ปี เกิด หรือตัวเลขที่เชื่อมโยงกับตัวเรา เช่น บ้านเลขที่ เบอร์โทร หรือรหัสผ่านที่ง่ายต่อการคาดเดา เช่น 12345678, password เป็นต้น รวมถึงเลือกวิธีที่ปลอดภัยมากขึ้น เช่น ผ่านทาง Face ID หรือลายนิ้วมือ ไม่ใช้รหัสเดียวเข้าใช้งานในทุกแอปพลิเคชั่น รวมถึง ควรเปลี่ยนรหัสผ่านอย่างน้อยทุก ๆ 3 เดือน ระวังอย่ากรอกรหัสผ่านในจุดที่บุคคลอื่นมองเห็นง่าย หรือมีกล้องวงจรปิดที่ติดอยู่ในบริเวณใกล้เคียง

ไม่ตั้งค่าเว็บเบราวเซอร์ให้จำรหัสผ่าน

เช่น Chrome หรือ Safari เป็นต้น เพื่อป้องกันการถูกแฮกข้อมูลค่ารหัสผ่านที่จดจำใน เว็บเบราวเซอร์ และอย่าลืม Log out หลังเลิกใช้งาน ออกจากระบบทุกครั้งเพื่อป้องกันการสวมรอยแอบใช้งาน

งดทำธุรกรรมผ่าน Wi-Fi สาธารณะ

เพราะมิจฉาชีพอาจตั้งใจปล่อยสัญญาณ เพื่อดักจับข้อมูลได้ง่าย หรือเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว และรหัสผ่านต่าง ๆ บนอุปกรณ์ส่วนตัวของท่าน

ควรอัปเดตระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์ที่ใช้งาน

รวมถึงแอปพลิเคชันให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ เพื่อให้ระบบรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ ได้รับการแก้ไขจากผู้ผลิตซอฟต์แวร์

ไม่เจลเบรคหรือรูท

เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟน หรือ เจลเบรค (Jailbreak) หรือ รูท (Root) เป็นการเปิดให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าถึงระบบต่าง ๆ บนอุปกรณ์ได้ง่ายขึ้นซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยง และยังทำให้การรับประกันสิ้นสุดลง หากมีปัญหาเกิดขึ้น จะไม่สามารถเคลมตามเงื่อนไขของผู้ผลิตสินค้าได้

ใช้โปรแกรมรักษาความปลอดภัย

เช่น ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส (Virus) ของแท้ และอัปเดตโปรแกรมสม่ำเสมอ เพื่อคอยตรวจจับและลบทำลายไวรัสที่แอบแฝงอยู่ในอุปกรณ์ที่ใช้งาน

ตรวจสอบแอปพลิเคชันให้มั่นใจก่อนดาวน์โหลด

โดยเลือกดาวน์โหลดจากแหล่งที่มาแบบ Official เท่านั้น (App Store หรือ Google Play Store) และทำความเข้าใจการใช้งาน เพื่อป้องกันการถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้ดาวน์โหลดและใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชั่นในทางที่ผิด เช่น ใช้แอปพลิเคชั่นที่สามารถขอสิทธิ์เข้าแก้ไขอุปกรณ์ใช้งานต่าง ๆ ได้จากระยะไกล เพื่อควบคุมมือถือและโอนเงินออกไปจากบัญชีของท่าน เป็นต้น

ใช้อุปกรณ์มือถือหรือแทปเล็ตอย่างมีสติรู้เท่าทัน

ระวังการปลอมแปลงหลอกลวงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น อีเมลหลอกลวง (Phishing Email) การกดลิงก์การกดลิงก์จากอีเมลหรือ SMS สแกน QR Code ดาวน์โหลดไฟล์ หรือแอปพลิเคชั่น อันตราย ไปจนถึงหลอกลวงให้โอนเงิน ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยตรวจสอบความถูกต้องทุกครั้งและคิดถึงหลักความเป็นจริง ความสมเหตุสมผล ไม่รีบร้อนดำเนินการ และติดต่อสอบถามผู้ได้รับการอ้างอิงก่อนดำเนินการใด ๆ

พิจารณา URL ของบริษัท กรุงเทพประกันชีวิต ก่อนคลิกลิงก์ในข้อความ SMS

URL ต้องเป็น https://bla.bangkoklife.com/ และลิงก์ที่ส่งออกจากบริษัทต้องเป็นโดเมน bangkoklife.com เท่านั้น

ทำธุรกรรมปลอดภัย มั่นใจกับกรุงเทพประกันชีวิต การันตีรางวัลความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ยอดเยี่ยมระดับประเทศ Thailand Cybersecurity Excellence Awards 2023 และมาตรฐานระดับสากล ISO/IEC 27701:2019 ระบบบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล

×

ฝากข้อความไว้ให้เราติดต่อกลับ