แบบไหนก็ไม่หวั่น...รู้ทันไว้พร้อมรับมือกับ 6 ภัยใกล้ตัว ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็ง
“มะเร็ง” ภัยร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด…จากสถิติสาธารณสุข ปี 2560 พบว่าโรคมะเร็งคือสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย สูงถึงร้อยละ 120.5 ต่อ 100,000 คน โดยปัจจัยเสี่ยงหลักมาจากพฤติกรรม และปัจจัยภายนอก
ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 20 ถึง 30 เท่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนและระยะเวลาที่สูบบุหรี่ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่จำเป็นต้องสูดดมควันบุหรี่จากผู้ที่อยู่ใกล้ชิด หรือในบริเวณอับที่มีควันบุหรี่อยู่ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนปกติถึง 1.2 ถึง 1.5 เท่า หรือที่เรียกกันว่าบุหรี่มือสองนั่นเอง
การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำคือสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคตับ ไม่ว่าจะเป็นโรคตับแข็ง ตับวาย รวมถึงมะเร็งตับ แอลกอฮอล์จะเข้าไปทำร้ายเซลล์ตับ กระตุ้นให้มีไขมันสะสมในตับ จากนั้นตับจะเกิดการอักเสบเรื้อรัง เกิดเป็นพังผืด ซึ่งเป็นเหมือนแผลเป็นและมีลักษณะแข็ง หากเกิดขึ้นในระยะยาวจะทำให้ตับแข็ง ส่งผลให้การทำงานของตับลดลง ตับวาย และนำไปสู่มะเร็งตับได้
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกที่ประกาศว่าเนื้อสัตว์ที่ได้รับการแปรรูปผ่านการบ่ม การหมัก และการรมควัน รวมถึงกระบวนการอื่น ๆ เพื่อเพิ่มรสชาติ หรือยืดอายุการเก็บรักษา เช่น เบคอน แฮม ไส้กรอก ซาลามี่ เนื้อกระป๋อง และซอสที่ทำจากเนื้อสัตว์ รวมถึงเนื้อแดงต่างๆ เป็นอาหารก่อมะเร็ง หากบริโภคเพิ่มขึ้น 50 กรัมต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้เพิ่มขึ้น 18% และ การบริโภคเนื้อแดงเพิ่มขึ้น 100 กรัมต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ขึ้นอีก 17%
มลพิษทางอากาศซึ่งรวมถึงฝุ่นผง ละออง ขี้เถ้า และเขม่าควัน ทั้งจากแหล่งธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างไอเสียจากรถยนต์และรถบรรทุก เมืองใหญ่และเขตอุตสาหกรรมที่มีการจราจรหนาแน่น โรงงาน งานก่อสร้าง ฝุ่นบนถนนลูกรัง การใช้ปุ๋ยและมูลสัตว์ และจากการเผาพื้นที่ทางการเกษตร ล้วนแล้วแต่เป็นความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดทั้งสิ้น และยิ่งละอองฝุ่นมีขนาดเล็กลงเท่าใด ก็ยิ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากขึ้นเท่านั้น
รังสีอัลตร้าไวโอเลต หรือรังสียูวี ชนิด UVA และ UVB ซึ่งแสง UVA นี้ สามารถผ่านทะลุเข้าไปถึงชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น ผิวคล้ำ เป็นฝ้ากระ และมีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง หากไม่ได้ทาครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพเพียงพอและปริมาณที่เหมาะสม ก็มีโอกาสที่จะได้รับรังสี UV แม้อยู่ในร่ม เนื่องจากพื้นคอนกรีต พื้นน้ำ พื้นทราย สามารถสะท้อนรังสี UV เข้าสู่ผิวกายได้เช่นกัน โดยช่วงเวลาที่ทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังมากที่สุด คือ ช่วงแดดจัดๆ ตั้งแต่ 10.00-15.00 น.
การฟุ้งกระจายระหว่างก่อสร้างหรือทำลายอาคาร โดยเฉพาะอาคารเก่า ซึ่งอาจมาจากวัสดุภายในอาคารอย่างฉนวนกันความร้อน ผนังอาคาร กระเบื้อง ฝ้าเพดาน หลังคา พื้นเคลือบ ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด มะเร็งในทางเดินอาหาร และมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจากแร่ใยหิน (Mesothelioma)
นอกจากนี้ควรป้องกันด่านแรกไว้โดยการดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงข้างต้น และเตรียมทุนค่ารักษาไว้พร้อมรับมือ...หากโรคร้ายมาเยือนด้วย “บีแอลเอ แคนเซอร์ แม็กซ์” ประกันที่คุ้มครองมะเร็งทุกระยะแบบเต็มแม็กซ์ ตรวจพบรับสูงสุด 3 ล้านบาท พร้อมเงินชดเชยเมื่อเข้ารักษาสูงสุดวันละ 10,000 บาท
มะเร็ง...รักษาได้ หากตรวจพบไวและแก้ไขถูกจุด
รายละเอียดเพิ่มเติม http://bit.ly/BLACancerMax
หรือติดต่อตัวแทนและที่ปรึกษาการเงินกรุงเทพประกันชีวิต โทร. 02 777 8888