ด้วยคณะกรรมการบริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) กำหนดจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566 ในวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2566 เวลา 9.30 น. ณ ชั้น 11 ห้องประชุม “ชิน โสภณพนิช” อาคารสำนักงานใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เลขที่ 1415 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร และประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (รูปแบบไฮบริด) เพื่อพิจารณาเรื่องต่างๆ ตามระเบียบวาระการประชุมดังต่อไปนี้
วาระที่ 1 | พิจารณารับรองรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2565
ความเห็นคณะกรรมการ: ได้มีการบันทึกรายงานการประชุมไว้อย่างถูกต้อง เห็นสมควรเสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น รับรองรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2565
|
|
วาระที่ 2 | เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานประจำปี 2565
ความเห็นคณะกรรมการ: เห็นสมควรเสนอให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรับทราบผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญซึ่งเกิดขึ้นในรอบปี 2565 โดยมีรายละเอียดตามแบบ 56-1 one report ประจำปี 2565
|
|
วาระที่ 3 | พิจารณาอนุมัติงบการเงินประจำปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565
ความเห็นคณะกรรมการ: เห็นสมควรเสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติงบการเงินประจำปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบและลงนามรับรองจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต โดยได้แสดงความเห็นอย่าง ไม่มีเงื่อนไข และได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทแล้ว
|
|
วาระที่ 4 | พิจารณาอนุมัติการจัดสรรกำไรและการจ่ายเงินปันผล ประจำปี 2565
ความเห็นคณะกรรมการ: บริษัทได้จัดสรรกำไรสุทธิประจำปีไว้เป็นกองทุนสำรองตามกฎหมายครบถ้วนแล้ว คณะกรรมการเห็นสมควรเสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566 พิจารณาอนุมัติจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 0.60 บาทรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,024 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผลร้อยละ 32 ของกำไรสุทธิ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัท โดยให้จ่ายจากกำไรสะสมซึ่งเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 20 ทั้งนี้ บริษัทได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในอัตราหุ้นละ 0.32 บาท เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 และจะจ่ายเงินปันผลงวดสุดท้ายจำนวน 478 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราหุ้นละ 0.28 บาท โดยกำหนดรายชื่อ ผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผลในวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 และจะกำหนดวันจ่ายเงินปันผลภายหลัง เมื่อได้รับความเห็นชอบการจ่ายเงินปันผลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยแล้ว
|
|
วาระที่ 5 | พิจารณาแต่งตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ครบวาระ
ความเห็นคณะกรรมการ: คณะกรรมการบริษัท (โดยกรรมการที่ไม่มีส่วนได้เสีย) ได้พิจารณาตามข้อเสนอของคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และเห็นสมควรเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาแต่งตั้งกรรมการที่ออกจากตำแหน่งตามวาระ 4 ท่าน กลับเข้าเป็นกรรมการอีกวาระหนึ่ง ได้แก่ นายสุนทร อรุณานนท์ชัย นางสาววราวรรณ เวชชสัสถ์ นางประไพวรรณ ลิมทรง และนางสาวชลลดา โสภณพนิช โดยนายประพันธ์ อัศวอารี แจ้งไม่ประสงค์จะกลับเข้าเป็นกรรมการอีกวาระหนึ่ง
|
|
วาระที่ 6 | พิจารณาอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการ ประจำปี 2566
ความเห็นคณะกรรมการ: คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาตามข้อเสนอของคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน จึงเห็นสมควรเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการ ประจำปี 2566 ภายในวงเงินไม่เกิน 16.7 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับค่าตอบแทนที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในปี 2565
|
|
วาระที่ 7 | พิจารณาอนุมัติแต่งตั้งผู้สอบบัญชี และกำหนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี ประจำปี 2566
ความเห็นคณะกรรมการ: คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาตามข้อเสนอของคณะกรรมการตรวจสอบ และเห็นสมควรเสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติแต่งตั้งผู้สอบบัญชี คือ นายนันทวัฒน์ สำรวญหันต์ ใบอนุญาตเลขที่ 7731 และ/หรือ นายชวาลา เทียนประเสริฐกิจ ใบอนุญาตเลขที่ 4301 และ/หรือนางสาวนิสากร ทรงมณี ใบอนุญาตเลขที่ 5035 และ/หรือนายวัลลภ วิไลวรวิทย์ ใบอนุญาตเลขที่ 6797 และ/หรือนางสาวลสิตา มากัต ใบอนุญาตเลขที่ 9039 จากบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ สอบบัญชี จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทประจำปี 2566 และพิจารณาอนุมัติค่าสอบบัญชีประจำปี 2566 เป็นจำนวนเงิน 2,341,000 บาท ซึ่งเท่ากับค่าตอบแทนที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในปี 2565
|
|
วาระที่ 8 | พิจารณาอนุมัติการแก้ไขข้อบังคับของบริษัท
ความเห็นคณะกรรมการ: เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับ 4) พ.ศ.2565 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมด้านการสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการบริษัทเห็นสมควรเสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566 พิจารณาอนุมัติการแก้ไขข้อบังคับของบริษัท ข้อ 32 ข้อ 36 ข้อ 45 ข้อ 46 ข้อ 47 ข้อ 55 ข้อ 63 และข้อ 64 ดังนี้
|
ข้อ 32 | ประธานกรรมการเป็นผู้มีอำนาจเรียกประชุม หรือสั่งให้มีการเรียกประชุมคณะกรรมการได้ในกรณี ที่ไม่มีประธานกรรมการไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้รองประธานกรรมการเป็นผู้เรียกประชุมคณะกรรมการ ในกรณีที่ไม่มีรองประธานกรรมการไม่ว่าด้วยเหตุใดกรรมการตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจร่วมกันเรียกประชุมคณะกรรมการได้ ในการเรียกประชุมคณะกรรมการ ให้ส่งหนังสือนัดประชุมไปยังกรรมการไม่น้อยกว่าสามวันก่อนประชุม เว้นแต่ในกรณีจำเป็นรีบด่วนเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัท จะแจ้งการนัดประชุมโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใดและกำหนดวันประชุมให้เร็วกว่านั้นก็ได้ เมื่อมีเหตุอันสมควรหรือเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัท กรรมการตั้งแต่สองคนขึ้นไปจะร่วมกันร้องขอให้ประธานกรรมการเรียกประชุมคณะกรรมการได้ โดยต้องระบุเรื่องและเหตุผลที่จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาไปด้วย ในกรณีเช่นนี้ให้ประธานกรรมการเรียกและกำหนดวันประชุมภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่ดำเนินการตามวรรคสาม กรรมการซึ่งร้องขออาจร่วมกันเรียกและกำหนดวันประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องที่ร้องขอได้ภายในสิบสี่วันนับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาตามวรรคสาม |
|
ข้อ 36 | คณะกรรมการของบริษัทต้องประชุมอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง ณ ท้องที่อันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ สำนักงานสาขา หรือจังหวัดใกล้เคียง หรือดำเนินการจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ในกรณีจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่าที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทเป็นสถานที่จัดประชุม |
|
ข้อ 45 | คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเป็นการประชุมสามัญประจำปี ภายใน 4 (สี่) เดือน นับแต่วันสิ้นสุดของรอบปีบัญชีของบริษัท การประชุมผู้ถือหุ้นคราวอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว ให้เรียกว่าการประชุมวิสามัญ คณะกรรมการจะเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเป็นการประชุมวิสามัญ เมื่อใดก็ได้สุดแต่จะเห็นสมควรหรือ ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหรือหลายคนซึ่งมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้ทั้งหมดจะเข้าชื่อกันทําหนังสือขอให้คณะกรรมการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเป็นการประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องระบุเรื่องและเหตุผลในการที่ขอให้เรียกประชุมไว้ให้ชัดเจนในหนังสือดังกล่าวด้วยในกรณีเช่นนี้ คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นภายในสี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากผู้ถือหุ้น ในกรณีที่คณะกรรมการไม่จัดให้มีการประชุมภายในกำหนดระยะเวลาตามวรรคสอง ผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งเข้าชื่อกันหรือผู้ถือหุ้นคนอื่นๆ รวมกันได้จำนวนหุ้นตามที่บังคับไว้นั้น จะเรียกประชุมเองก็ได้ ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาตามวรรคสอง ในการเรียกประชุมนี้ ผู้ถือหุ้นที่เรียกประชุมอาจจัดส่งหนังสือนัดประชุมไปยังผู้ถือหุ้นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ หากผู้ถือหุ้นนั้นได้แจ้งความประสงค์หรือให้ความยินยอมไว้แก่บริษัทแล้ว ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าเป็นการประชุมผู้ถือหุ้นที่คณะกรรมการเรียกประชุม โดยบริษัทต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอันจำเป็นที่เกิดจากการจัดให้มีการประชุมและอำนวยความสะดวกตามสมควร ในกรณีที่ปรากฏว่าการประชุมผู้ถือหุ้นที่เป็นการเรียกประชุมเพราะผู้ถือหุ้นตามวรรคสามครั้งใดจํานวน ผู้ถือหุ้นซึ่งมาร่วมประชุมไม่ครบเป็นองค์ประชุมตามที่กฎหมายกําหนดผู้ถือหุ้นตามวรรคสามต้องร่วมรับผิดชอบชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการจัดให้มีการประชุมครั้งนั้นแก่ให้แก่บริษัท |
|
ข้อ 46 | ในการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น ให้คณะกรรมการจัดทำเป็นหนังสือนัดประชุม ระบุสถานที่ วัน เวลา ระเบียบวาระการประชุม และเรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุม พร้อมด้วยรายละเอียดตามสมควร โดยระบุให้ชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่จะเสนอเพื่อทราบ เพื่ออนุมัติ หรือเพื่อพิจารณา แล้วแต่กรณี รวมทั้งความเห็นของคณะกรรมการในเรื่องดังกล่าว และจัดส่งให้ผู้ถือหุ้นและนายทะเบียนทราบไม่น้อยกว่า 7 (เจ็ด) วันก่อนวันประชุม และโฆษณาคำบอกกล่าวนัดประชุมในหนังสือพิมพ์ หรือใช้วิธีการโฆษณาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 (สาม) วัน ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 3 (สาม) วัน | |
ข้อ 47 | ในการประชุมผู้ถือหุ้นต้องมีผู้ถือหุ้นและผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้น (ถ้ามี) มาประชุมไม่น้อยกว่า 25 (ยี่สิบห้า) คน หรือไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดและจะต้องมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในกรณีที่ปรากฏว่าการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งใด เมื่อล่วงเวลานัดไปแล้วถึงหนึ่งชั่วโมงจำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งเข้ามาร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้ หากว่าการประชุมผู้ถือหุ้นได้เรียกนัดเพราะผู้ถือหุ้นร้องขอการประชุมเป็นอันระงับไป ถ้าการประชุมผู้ถือหุ้นนั้นมิใช่เป็นการประชุมเพราะผู้ถือหุ้นเป็นผู้ร้องขอให้นัดประชุมใหม่และให้ส่งหนังสือนัดประชุมไปยังผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 7 (เจ็ด) วันก่อนวันประชุม ในการประชุมครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจะต้องครบองค์ประชุม การมอบฉันทะตามวรรคหนึ่ง อาจดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แทนได้ โดยต้องใช้วิธีการที่มีความปลอดภัยและเชื่อถือได้ว่าการมอบฉันทะนั้นได้ดำเนินการโดยผู้ถือหุ้น |
|
ข้อ 55 | ห้ามมิให้แบ่งเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกำไร ในกรณีที่บริษัทยังมียอดขาดทุนสะสมอยู่ ห้ามมิให้แบ่งเงินปันผล เงินปันผลให้แบ่งตามจำนวนหุ้น หุ้นละเท่าๆ กัน โดยมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น การจ่ายเงินปันผลบริษัทอาจจะจ่ายเงินปันผลทั้งหมดหรือบางส่วนในรูปของหุ้นปันผล (STOCK DIVIDENED) โดยออกเป็นหุ้นสามัญใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้น สำหรับกรณีบริษัทยังจำหน่ายหุ้นไม่ครบตามจำนวนที่จดทะเบียนไว้ คณะกรรมการอาจจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้เป็นครั้งคราวในเมื่อเห็นว่าบริษัทมีผลกำไรสมควรพอที่จะทำเช่นนั้น และรายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมคราวต่อไป การจ่ายเงินปันผลให้กระทำภายใน 1 (หนึ่ง) เดือน นับแต่วันที่ประชุมผู้ถือหุ้น หรือคณะกรรมการลงมติแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ให้แจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้ถือหุ้นและให้โฆษณาคำบอกกล่าวการจ่ายปันผลนั้น ในหนังสือพิมพ์ หรือใช้วิธีการโฆษณาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ |
|
ข้อ 63 | การประชุมผู้ถือหุ้น การประชุมคณะกรรมการ หรือการประชุมใดๆ ของบริษัท ประธานกรรมการ หรือผู้ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมจะกำหนดให้จัดการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ในกรณีที่ได้จัดให้มีการประชุมตามวรรคหนึ่งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่าสำนักงานใหญ่ของบริษัทเป็นสถานที่จัดประชุม |
|
ข้อ 64 | ในกรณีที่บริษัทหรือคณะกรรมการมีหน้าที่ต้องส่งหนังสือหรือเอกสารตามพระราชบัญญัตินี้ให้แก่กรรมการ ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ของบริษัท หากบุคคลดังกล่าวได้แจ้งความประสงค์หรือยินยอมให้บริษัทส่งหนังสือหรือเอกสารโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ |
วาระที่ 9 | พิจารณาเรื่องอื่นๆ (ถ้ามี) ทั้งนี้ บริษัทกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเข้าร่วมการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566 (Record Date) ในวันที่ 10 มีนาคม 2566 |
ขอแสดงความนับถือ |
|
| |
โดยคำสั่งคณะกรรมการ | |
บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) |
ส่วนเลขานุการบริษัท โทรศัพท์: 0 2777 8845 |
หมายเหตุ : บริษัทได้เผยแพร่หนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566 ไว้ในเว็บไซต์ของบริษัท |
https://www.bangkoklife.com/th/Investor/ShareHolders?id=21 |